นโยบายความเป็นส่วนตัว

 

นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล และ แบบขอความยินยอมในการเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล 

             เนื่องจาก  จังหวัดนครพนม ให้ความสำคัญ อย่างยิ่ง ในการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษา ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ประกอบกับ หน่วยงานฯ มีความมุ่งมั่น ที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดมาตรการในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับผู้ประกอบการที่เก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพ หน่วยงานฯ จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อรองรับการ ปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้

              จังหวัดนครพนม มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA Thailand (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)ของจังหวัดนครพนมและ เป็นผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและ การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559  

              เป็นนิติบุคคลที่มีการเก็บ รวบรวม ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เพื่อ ประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายและประโยชน์ของ หน่วยงานฯ จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับลูกค้าและพนักงาน เพื่อประโยชน์ของลูกค้าและพนักงานในการรักษาสิทธิและใช้สิทธิ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  

 

1. ประเภทข้อมูลที่ให้ความยินยอมในการเก็บ รวบรวม ใช้ ประมวลผลหรือเปิดเผย 

หน่วยงานจังหวัดนครพนมเก็บ รวบรวม ใช้ ประมวลผล หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ภายใต้สิทธิและ เงื่อนไขตามหนังสือยินยอมฉบับนี้ซึ่งได้แก้ข้อมูลส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้

        1. ชื่อ(ชื่อต้น หรือชื่อกลางหรือทั้งหมด) 

        2. นามสกุล 

        3. หมายเลขประจำตัวประชาชน 

       4. หมายเลขหนังสือเดินทาง 

       5. หมายเลขประจำตัวบัตรข้าราชการ 

       6. วัน เดือน ปี เกิด 

      7. หมายเลขใบอนุญาตขับขี่  

      8. ที่อยู่ (บ้านเลขที่ แขวง/เขต จังหวัด ประเทศ) 

     9. หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ หรือ อีเมล 

    10. อาชีพ

    11. ข้อมูลภาพถ่าย 

    12. ข้อมูลการบันทึกภาพเคลื่อนไหว (ระยะเวลาเก็บรักษา ไม่เกิน 60 วัน) 

    13. ข้อมูลการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง ควบคู่กับข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าแต่ละราย 

 

2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว  

หน่วยงานฯ อาจเก็บขอ้มูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

(1) ข้อมูลชีวมิติเช่น ข้อมูลจำลองใบหน้า จำลองลายนิ้วมือ ข้อมูลจำลองม่านตาอัตลักษณ์เสียง

(2) ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ที่ได้จากการบันทึกในกล้องวงจรปิด ณ สาขาที่ให้บริการต่างๆของหน่วยงานฯ โดยการเก็บข้อมูลที่มีความอ่อนไหวข้างต้น หน่วยงานฯ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

• ข้อมูลชีวมิติซึ่งหน่วยงานฯ อาจมีการเก็บ รวบรวม นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันตัวบุคคลของ ลูกค้าเจ้าของข้อมูล เพื่อรองรับกระบวนการพิสูจน์ตัวตนตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน  

• ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวซึ่งได้จากการบันทึกในกล้องวงจรปิด ณ สาขาที่ให้บริการต่างๆของ หน่วยงาน ฯ ซึ่งเป็นข้อมูลที่หน่วยงานจำเป็นต้องทำ ให้เกิดขึ้นตามกระบวนการเพื่อป้องกัน ระงับ อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพของลูกค้าผู้มาใช้บริการ หมายถึง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของลูกค้าและพนักงานของหน่วยงานฯ ทั้งนี้หน่วยงาน ฯ ได้จัดให้มีข้อความแจ้งต่อ ลูกค้าในพื้นที่รัศมีของการบันทึกภาพของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาส “ไม่ยินยอม” หรือ“แจ้ง ให้หน่วยงานฯ ลบข้อมูล” ในภายหลังได้ โดยกระบวนการถอนความยินยอมหรือการใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หน่วยงานฯ ได้มีช่องทางและกระบวนการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ข้างต้นและที่จะได้กล่าวต่อไป 

 

3.วัตถุประสงค์ในการเก็บ รวบรวม ใช้ ข้อมูลส่วนบุคคล 

ในการเก็บ รวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้น หน่วยงานฯ ดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์  ดังต่อไปนี้

• เพื่อประโยชน์ในการยืนยันตัวตนและปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบ ประกาศของ หน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมาย 

• เพื่อเป็นหลักฐานทางกฎหมายในการทำนิติกรรมหรือธุรกรรม 

·   เพื่อประโยชน์ในการรับสิทธิ์ทิประโยชน์ ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม

รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเสนอสิทธิหรือประโยชน์หรือโอกาสในการใช้บริการ ได้รับสิทธิ

หรือสิ่งของสมมนาคุณ

·   เพื่อเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานฯ

·   เพื่อรับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงพัฒนาการบริการและผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานฯ

·   เพื่อการดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาข้างต้น

 

4. การประมวลผลข้อมูล

       หน่วยงานฯ มีหน้าที่นำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า มาใช้ประมวลผลเพื่อตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปรับปรามการฟอกเงิน และนำมาตรวจสอบกับรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอนุภาพทำลายล้างสูง

       นอกจากนี้ หน่วยงานฯ ได้นำข้อมูลของท่าน มาประมวลผลเพื่อประโยชน์ในการประเมิน ว่า พฤติกรรมหรือรูปแบบการใช้บริการของท่าน เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆด้านใดของหน่วยงานฯ เพื่อที่หน่วยงานฯจะได้นำเสนอ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด

 

5. ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

       หน่วยงานฯ จะไม่เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และระยะเวลาการเรียกร้องสิทธิหรืออายุความฟ้องร้องดำเนินคดีในทางแพ่ง (10 ปี)

       กรณีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ประเภทภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏในกล้องวงจรปิด หน่วยงานฯ มีระยะเวลาการเก็บรักษาไว้ 90 วัน นับแต่วันที่บันทึกภาพ

 

6. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

       หน่วยงานฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ให้แก่ บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่หน่วยงานฯ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ได้แก่

·   หน่วยงานฯ มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้า กรณีที่มีการทำธุรกรรมตามหลักเกณฑ์การรายงาน

ธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

หรือ หน่วยงานฯ อาจเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานฯ ที่หน่วยงานฯ มอบหมายให้เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

หรือ เป็นการปฏิบัติตามสัญญาร่วมกันระหว่างหน่วยงานฯ กับหน่วยงานฯ คู่ค้า เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่ลูกค้าร่วมกันเท่านั้น

 

7. การส่งหรือโอนข้อมูลให้แก่ผู้อื่นหรือบุคคลภายนอกในประเทศและต่างประเทศ

·   หน่วยงานฯ จะส่ง หรือ ไม่ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล ไปบุคคลอื่น หรือนิติบุคคลอื่น เว้นแต่ ลูกค้าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ได้ร้องขอให้หน่วยงานฯ ดำเนินการส่งหรือโอน และ

·   หน่วยงานฯ จะส่ง หรือ ไม่ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล ไปให้บุคคลอื่น หรือนิติบุคคลอื่นในต่างประเทศเว้นแต่ เป็นการส่งข้อมูลให้หน่วยงานฯ ในเครือ หรือสาขา หรือหน่วยงานคู่ค้าฯ ที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่ลูกค้ารายนั้นๆ ร่วมกันเท่านั้น และ

·   หากหน่วยงานมีเหตุผลและวัตถุประสงค์จำเป็นที่ต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าตามที่กล่าวข้างต้น หน่วยงานฯ จะส่งหรือโอนข้อมูลให้เฉพาะประเทศปลาย ทางที่มีมาตรฐานการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ที่เพียงพอตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น

 

 

8. บรรดาสิทธิต่างๆของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และช่องทางในการใช้สิทธิ

       เมื่อเจ้าของข้อมูลได้ให้ความ ยินยอมในการเก็บ รวบรวม ใช้ประมวลผลหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต่อหน่วยงานฯ แล้ว เจ้าของข้อมูลย่อมมีสิทธิขอให้หน่วยงานดำเนินการดังต่อไปนี้

·   สิทธิในการขอถอนความยินยอม

       เมื่อได้ให้ยินยอมแล้ว เจ้าของข้อมูลฯ จะเพิกถอนการยินยอมให้ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิห้ามเพิกถอนตามกฎหมายหรือตามสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลฯ

       ทั้งนี้ การเพิกถอนการยินยอม ไม่กระทบต่อการเก็บ/ใช้/เปิดเผยข้อมูล ซึ่งได้กระทำระหว่างที่ได้ให้ความยินยอมโดยชอบและหน่วยงานฯ จะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการถอนความยินยอม

·   สิทธิในการเข้าถึงและขอสำเนาข้อมูล

       เจ้าของข้อมูลฯ มีสิทธิที่จะเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่หน่วยงานฯ รับผิดชอบอยู่และมีสิทธิขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม

·   สิทธิในการขอรับข้อมูลและขอให้ส่งต่อ/โอนข้อมูล

       เจ้าของข้อมูลฯมีสิทธิ์ขอรับข้อมูลของตนจากหน่วยงานฯ ได้ในกรณีที่หน่วยงานฯ จัดให้ข้อมูลนั้นอยู่ในรูปแบบที่อ่าน/ใช้งานทั่วไปและเปิดเผยได้อัตโนมัติด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์และเจ้าของข้อมูลฯ มีสิทธิ์ขอให้หน่วยงานฯ ส่งหรือโอนข้อมูลของต้นในรูปแบบอัตโนมัติข้างต้น ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลฯ รายอื่น เมื่อกระทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติและเจ้าของข้อมูลฯ มีสิทธิ์ขอรับข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่หน่วยงานฯ ส่งหรือโอนข้อมูลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลฯ รายอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้

อนึ่งการใช้สิทธิข้อนี้เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอมโดยชัดแจ้งในการขอให้หน่วยงาน ฯ ส่งหรือโอน ข้อมูลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น ซึ่งไม่อยู่ในหลักการตามนโยบายของหน่วยงานฯ  

• สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม/ใช้/เปิดเผยข้อมูลของตน 

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิที่จะคัดค้านมิให้หน่วยงานฯ เก็บรวบรวม ใช้ ประมวลผล หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลได้ เว้นแต่เป็นการดำเนินการที่หน่วยงานฯ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและเป็นกรณี การเก็บ รวบรวม  หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เพื่อเก็บเป็นพยานหลักฐาน สำหรับการดำเนินคดีที่อาจเกิดขึ้นระหว่างหน่วยงาน ฯ กับ ลูกค้าภายในอายุความแห่งกฎหมาย 

• สิทธิในการขอให้ลบ/ทำลายหรือทำให้ข้อมูลนั้นไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล 

เจ้าของข้อมูลฯ มีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลฯ ดำเนินการลบ ทำลาย หรือ ทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้หากว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้น หมดความจำ เป็นในการเก็บรักษาตามวัตถุประสงค์ ที่เคยได้แจ้งไว้ หรือดำเนินการลบ ทำลาย หรือ ทำให้ข้อมูลนั้น ไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ เมื่อ เจ้าของข้อมูลถอนความยินยอมในการเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย และผู้ควบคุมข้อมูลฯ ไม่อำนาจตามกฎหมายที่ จะเก็บรวบรวม ใช้เปิดเผยข้อมูลนั้นอีกต่อไป หรือดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลนั้น ไม่สามารถระบุ ตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้เมื่อเจ้าของข้อมูลใช้สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวมใช้เปิดเผยข้อมูลนั้น และผู้ควบคุม ข้อมูลฯ ไม่สามารถปฏิเสธคำคัดค้านนั้นได้หรือดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลนั้น เมื่อข้อมูลส่วนบุคคล ได้ถูก เก็บ รวบรวม ใช้เปิดเผยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้หน่วยงานฯ อาจคัดค้านการใช้สิทธินี้ถ้าการเก็บรวบรวม ใช้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกรณีที่หน่วยงานฯ ดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเป็นกรณีเพื่อ เก็บเป็นพยานหลักฐานสำหรับการดำเนินคดีที่อาจเกิดขึ้นระหว่างหน่วยงาน ฯ กับลูกค้าภายในอายุความแห่ง กฎหมาย 

• สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล 

เจ้าของข้อมูลฯ มีสิทธิที่จะขอให้หน่วยงานฯ ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่อยู่ระหว่างการ ตรวจสอบ เมื่อเจ้าของข้อมูลขอให้หน่วยงานฯ ดำเนินการให้ข้อมูลนั้นถูกต้องเป็นปัจจุบัน สมบูรณ์และไม่ก่อให้เกิด ความเข้าใจผิด และหน่วยงานฯ ยังไม่ดำเนินการ ทำให้เจ้าของข้อมูลร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ หรือเมื่อ ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เป็นข้อมูลที่ต้องลบ ทำลายเนื่องจากหน่วยงานฯ เก็บรวบรวม/ใช้/เปิดเผย โดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย แต่เจ้าของข้อมูลฯ ขอให้ระงับการใช้แทนการลบ ทำลาย หรือเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลนั้น หมดความ จำเป็นในการเก็บรักษาตามวัตถุประสงค์ แต่เจ้าของข้อมูลฯ จำเป็นต้องขอให้เก็บรักษาไว้เพื่อใช้ในการก่อตั้ง สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ปฏิบัติตามหรือเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้น ต่อสู้สิทธิ เรียกร้องตามกฎหมาย หรือเมื่อหน่วยงานฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อพิสูจน์ กรณีปฏิเสธคำคัดค้านของเจ้าของ ข้อมูลฯ เรื่องการคัดค้านในการเก็บรวบรวม/ใช้/เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล

• สิทธิในการขอให้ดำเนินการให้ข้อมูลถูกต้องและเป็นปัจจุบัน 

เจ้าของข้อมูลฯ ใช้สิทธิร้องขอให้หน่วยงานฯ ดำเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ถูกต้องเป็นปัจจุบัน สมบูรณ์และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ 

• สิทธิในการยื่นเรื่องร้องเรียน 

เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่ ท่านเชื่อว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่เราได้ดำเนินการนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลที่บังคับใช้อยู่ 

ช่องทางในการใช้สิทธิ 

หน่วยงานฯ จัดให้มีช่องทางในการที่ท่านจะใช้สิทธิได้ดังนี้

(1) วิธีการขอความยินยอมโดยขอเป็นหนังสือ ณ สำนักงานหรือสาขาที่ให้บริการของหน่วยงานฯ

(2) วิธีการขอความยินยอมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านเว็บไซต์หรือช่องทาง Social Network  อื่นๆของหน่วยงานฯ 

กำหนดเวลาในการดำเนินการเมื่อท่านใช้สิทธิ 

 

ประเภทสิทธิ  ระยะเวลาดำเนินการ
สิทธิในการขอถอนความยินยอม  7 วัน
สิทธิในการเข้าถึงและขอสำเนาข้อมูล 30 วัน
สิทธิในการขอรับข้อมูลและขอให้ส่งต่อ/โอนข้อมูล 30 วัน
สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม/ใช้/เปิดเผยข้อมูลของตน 30 วัน
สิทธิในการขอให้ลบ/ทำลายหรือทำให้ข้อมูลนั้น ไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล 30 วัน
สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล 30 วัน
สิทธิในการขอให้ดำเนินการให้ข้อมูลถูกต้องและเป็นปัจจุบัน 30 วัน

 

9. ผลการเพิกถอนความยินยอม  

กรณีที่ท่านประสงค์จะถอนความยินยอม ในการให้เก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจะเกิดผล ดังนี้

⋅ ท่านถอนความยินยอมในการให้เก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลที่ หน่วยงานฯ มิได้เก็บ รวบรวม ใช้ ประมวลผล และเปิดเผย เพื่อวัตถุประสงค์ที่หน่วยงานฯ ต้องดำเนินการเพื่อ ปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น

⋅ ท่านอาจไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม รับทราบข้อมูล เกี่ยวกับเสนอสิทธิหรือประโยชน์หรือโอกาสในการใช้บริการได้รับสิทธิหรือสิ่งของสมนาคุณ

⋅ ท่านอาจไม่ได้ข้อเสนอเกี่ยวกับ บริการหรือผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานฯ  

⋅ หน่วยงานฯ อาจไม่ทราบถึงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงพัฒนา การบริการและผลิตภัณฑ์จากท่าน

⋅ หน่วยงานฯ อาจไม่สามารถดำเนินการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาข้างต้นได้

 

10. หน่วยงานฯ มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างไร 

หน่วยงานฯ จะเก็บรักษาข้อมูลของทางไว้เป็นอย่างดี โดยเก็บไว้ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยหน่วยงานฯ มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูล ประมวลผลข้อมูลอย่าง เหมาะสม และมีมาตรการในการป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยหน่วยงานฯ ได้กำหนดนโยบาย วิธีปฏิบัติ  เช่น มาตรการป้องกันมิให้พนักงานนำข้อมูลลูกค้าออกจากระบบของหน่วยงานฯ มาตรการรักษาความปลอดภัยของ ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานฯ กำหนดข้อตกลงอย่างเคร่งครัดกับคู่สัญญาเกี่ยวกับความคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า และข้อบังคับสำหรับพนักงานและบุคลากรในการรักษาความลับของข้อมูลส่วน บุคคลของลูกค้า 

 

11. การติดต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 

หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามเกี่ยวกับนโยบายและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ หน่วยงานฯ หรือประสงค์จะสอบถามเกี่ยวกับการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดกับ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านซึ่งหน่วยงานฯได้เก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ท่านสามารถติดต่อได้ที่  เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  

สถานที่ติดต่อ สำนักงาน

อีเมล nakhonphanom48@gmail.com